เครื่องดับเพลิงมีกี่ประเภท แล้วภายในเครื่องดับเพลิงต้องบรรจุไปด้วยอะไรบ้างถึงดับไฟที่ลุกโหมได้!!

How many types of fire extinguishers are there?

เครื่องดับเพลิงมีกี่ประเภท แล้วภายในเครื่องดับเพลิงต้องบรรจุไปด้วยอะไรบ้างถึงดับไฟที่ลุกโหมได้!!

เวลาที่เราก่อสร้างบ้านหรือแม้กระทั่งก่อตั้งธุรกิจบริษัทก็ตามแต่ สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เด็ดขาดคือเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งสำหรับอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องปกป้องชีวิตของเราให้พ้นภัยอัคคีภัยก็ต้องหนีไม่พ้นเครื่องดับเพลิง ซึ่งการติดตั้งเครื่องดับเพลิงเอาไว้ในทุกที่อยู่อาศัยก็ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดอัตราการสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้ได้ในเบื้องต้นไปแล้วนั่นเอง ดังนั้น นี่แหละก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องมีเครื่องดับเพลิงกันเหนียวไว้ในที่อยู่อาศัย!

ประเภทของเพลิงไหม้

เพราะไฟเกิดจากการรวมตัวขององค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่ เชื้อเพลิง ความร้อน และอากาศ ซึ่งเพลิงไหม้เกิดจากไฟที่ลุกไหม้บนเชื้อเพลิงในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจน

ดังนั้น ระดับความรุนแรงของเพลิงไหม้ จึงแบ่งออกได้ตามนี้

เพลิงไหม้ประเภท A ถือเป็นเพลิงไหม้ประเภทที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ขยะ พลาสติก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในอาคารที่พักอาศัยทั่วไป และสามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า
– เพลิงไหม้ประเภท B เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันก๊าซ น้ำมันเบนซิน และก๊าซไวไฟ การดับเพลิงไหม้ประเภทนี้จึงต้องกำจัดออกซิเจนโดยรอบออกก่อน
เพลิงไหม้ประเภท C เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ ดังนั้น การดับเพลิงไหม้ประเภทนี้ควรต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับไฟ
เพลิงไหม้ประเภท D เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะติดไฟได้ ดังนั้น เพลิงไหม้ประเภทนี้ไม่สามารถดับด้วยน้ำเปล่าจึงต้องใช้เครื่องดับเพลิงเข้ามาช่วยนั่นเอง
เพลิงไหม้ประเภท K เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดกับเครื่องครัว น้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ไปจนถึงของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในครัวเรือนและร้านอาหารนั่นเอง

เครื่องดับเพลิงมีกี่ประเภทกันนะ??

ในการติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ในที่อยู่อาศัย ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการดับไฟของเชื้อเพลิงในอาคารเป็นหลัก ซึ่งเครื่องดับเพลิงแต่ละชนิดจะบรรจุสารภายในถังที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถดับเพลิงได้ตามแต่ละประเภท ดังนั้น มาดูแบบเจาะลึกไปพร้อมๆ กันเลย

1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง

เป็นเครื่องดับเพลิงที่บรรจุผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจนที่สามารถระงับปฏิกิริยาเคมีของการเกิดเพลิงไหม้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฝุ่นละอองและขัดขวางการลุกไหม้ของออกซิเจนกับเชื้อเพลิง จึงเหมาะสำหรับการดับเพลิงได้หลายรูปแบบ และเหมาะกับการใช้ในอาคารพักอาศัย บ้าน โรงงานอุตสาหกรรม

2. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย HCFC-123

สำหรับชนิดนี้ เมื่อฉีดออกมาจะเป็นไอระเหย ทำหน้าที่กำจัดความร้อนและขัดขวางการเผาไหม้ออกซิเจนและไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าโดยไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังดับ จึงเหมาะกับการใช้งานในห้องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เรือ เครื่องบิน

3. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม

เครื่องดับเพลิงแบบนี้ เมื่อฉีดออกมาแล้วจะเป็นฟองโฟมกระจายปกคลุมเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ทำให้ไฟขาดออกซิเจนและลดความร้อน รวมถึงการปกปิดพื้นผิวของของเหลวอย่างน้ำมันได้ดี จึงเหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเชื้อเพลิงและสารระเหยติดไฟ

4. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เพราะเป็นถังดับเพลิงที่บรรจุไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นไอเย็นจัดของน้ำแข็งแห้งปกคลุมบริเวณที่เกิดเพลิงลุกไหม้ จึงช่วยให้ลดความร้อนและดับไฟได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงไม่ทิ้งคราบสกปรกเอาไว้ด้วย จึงเหมาะสำหรับโรงงานที่มีไลน์การผลิตขนาดใหญ่ โรงอาหาร และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

5. ถังดับเพลิงชนิดน้ำ

สำหรับถังดับเพลิงชนิดน้ำจะเหมาะกับการดับเพลิงไหม้ประเภท A เพื่อลดอุณหภูมิความร้อนของเชื้อเพลิงที่เป็นวัตถุของแข็งอย่าง ไม้ กระดาษ พลาสติก ผ้า โดยบรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซเอาไว้นั่นเอง

6. ถังดับเพลิงชนิด Wet Chemical Class K

ในส่วนของเครื่องดับเพลิงตัวนี้ จะบรรจุสาร Potassium Acetate เอาไว้ จึงไว้ใช้ดับเพลิงประเภท K ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ หรือของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร จึงเหมาะสำหรับใช้ในห้องครัว และร้านอาหาร

ภายในถังดับเพลิง ประกอบไปด้วยสารอะไรบ้าง??

ภายในถังดับเพลิงประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด อัดด้วยก๊าซไนโตรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้เป็นแรงขับสารเคมีภายในออกมา จึงช่วยลดก๊าซออกซิเจนและอุณหภูมิที่เกิดไฟไหม้ได้

ารเลือกถังดับเพลิงว่ามีคุณภาพหรือไม่ ต้องวัดจากสิ่งต่อไปนี้

สำหรับเครื่องดับเพลิงทุกใบนั้น จะมีฉลากการควบคุมคุณภาพอยู่บริเวณข้างถังดับเพลิง ซึ่งเราที่เป็นผู้ใช้งานก็สามารถเช็กได้ดังนี้ ว่าตรงตามมาตรฐานสากลของถังดับเพลิงแล้วหรือยัง
– การเลือกใช้ต้องได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์มาตรฐานของประเทศไทย คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (มอก.)
– เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง ต้องผ่านมาตรฐาน มอก.332-2537
– เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดโฟม ต้องผ่านมาตรฐาน มอก.882-2532
– หรือต้องเป็นเครื่องดับเพลิงที่ได้รับมาตรฐานสากลอื่นๆ เช่น UL (Underwriter Laboratory)

และต่อไปนี้ พวกเราก็จะสามารถติดตั้งเครื่องดับเพลิงที่นอกจากจะผ่านมาตรฐานความปลอดภัยแล้วก็ยังถูกวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการใช้งานกันอีกต่างหาก ซึ่งสำหรับใครที่ไม่ไว้ใจและไม่รู้จะไปซื้อที่ไหนก็ต้องที่นี่เลย บริษัท ทรัพย์ศรีสุข156 จำกัด ศูนย์รวมอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์จราจร รวมไปถึงการให้บริการทางด้านสาธารณสุขต่างๆ และต่างได้รับการยอมรับความปลอดภัยจากภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ หลากหลายแห่งมานานกว่า 10 ปี ในราคาที่ถูกใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *